- โรคจากเชื้อริคเก็ตเซีย
- Ehrlichia canis, E.chaffeensis และ Anaplasma phagocytophila
- Haemobartonella canis
- โรคจากโปรโตชัว
- Babesia canis และ B.gibsoni
- Hepatozoon canis
- โรคจากแบคทีเรีย
- Bartonella vinsonii
Babesiosis (B.canis&B.gibsoni) เชื้อ Babesia spp. จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง คล้ายกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมาเลเรียในคนเมื่อเชื้อเพิ่มจำนวนจะทำให้เม็ด เลือดแดงของสัตว์ถูกทำลาย และมักพบอาการ ดังต่อไปนี้
- โลหิตจาง (anemia) เยื่อเมือกจะซีด เหงือกซีด
- ไข้สูง
- ซึม เบื่ออาหารหรือไม่กินอาหาร
- ลูกสุนัขอายุน้อยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะมีอัตราการตายสูงมาก
- กรณีป่วยเรื้อรัง อาจพบอาการดีซ่าน เนื่องจากสภาพเม็ดเลือดถูกทำลายอย่างมากและตับได้รับความเสียหายจากการที่เลือดไปเลี้ยงตับไม่พอทำให้เซลตับตายจากการขาดเลือด
- อาจพบภาวะไตวายแทรกซ้อนได้เช่นกัน หากเลือดไปเลี้ยงไปไม่พอ
Hepatozoonosis (H.canis) เชื้อ Hepatozoon spp จะอาศัยอยู๋ในเม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophils ซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันของสัตว์ลดลงจากปกติ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวดังกล่างจะถูกทำลาย และสูญเสียประสิทธิภาพในการป้องกันตัวเองจากเชื้อภายนอก อาการที่มักพบคือ
- มีไข้ขึ้นๆลงๆ และไม่ค่อยตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ
- ผอมแห้ง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
- โลหิตจาง
- มีอาการเจ็บตามกล้ามเนื้อที่สัมผัส มักพบอาการเจ็บขาหรือท่าเดินผิดปกติ ระยะยาวอาจพบกล้ามเนื้อฝ่อลีบตามมา
- มักจะพบการติดเชื้ออื่นๆร่วมด้วย และอาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นของโรคอื่นๆที่อาจพบภายหลัง
- โดยมากเชื้อ Hepatozoon canis มักเป็นเชื้อแฝงในร่างกายเมื่อสัตว์อ่อนแอจะทำให้สัตว์แสดงอาการของโรคออกมาได้
Ehrlichiosis (Ehrlichia canis,E.chaffeensis และ Anaplasma phagocytophila) เชื้อ Ehrlichia spp. จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาว ความรุนแรงของโรคจะใกล้เคียงกับโรค babesiosis เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากที่สุดในสุนัข อาการของโรคที่มักพบคือ
- โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ
- ไข้สูง
- มีจุดเลือดออกตามเยื่อเมือก และผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกาย
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- ซึม, เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และติดเขื้อแทรกซ้อนอื่นๆได้ง่าย
- มักทำให้มีจุดเลือดออกที่จอประสาทตา
- โรคจะมีความรุนแรงในสัตว์อายุน้อย โดยทำให้อัตราการตายสูง ถ้าไม่ได้รับการรักษาหริอวินิจฉัยอย่างทันที
Haemobartonellosis (Haemobatonella canis) เชื้อ Haemobartonella spp. จะอาศัยอยู่บนผิวด้านนอกของเม็ดเลือดแดง และทำให้เม็ดเลิอดแดงมีลักษณะรูปร่างผิดปกติไป โดยทั่วๆไปจะมีความรุนแรงต่ำกว่าเชื้ออื่นๆในกลุ่มเดียวกัน ปกติโรคนี้พบในแมวได้มากกว่าในสุนัข อาการที่มักพบมีดังนี้
- โลหิตจาง มีไข้ ซึม (ปกติไม่ค่อยแสดงอาการอะไรให้เห็น ถ้าร่างกายแข็งแรง)
- มักพบร่วมกับการติดเชื้ออื่นเมื่อร่างกายอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันต่ำ
- สัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรง ภูมิคุ้มกันปกติจะควบคุมปริมาณของเชื้อในร่างกาย
- การักษาใช้ยาปฏิชีวะนะ
Bartonellosis (Bartonella vinsonii) เชื้อ Bartonella spp. อาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง ปกติไม่ค่อยพบโรคนี้ อาการที่มักพบ มีดังนี้
- ซึม เบื่ออาหาร
- อาจพบอาการเจ็บขา
- จพบการอักเสบของลิ้นปิดเปิดหัวใจ
- อาจพบอาการเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ
- อาการมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของเชื้อ
การป้องกันและควบคุมโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข
- โรคนำโดยเห็บ ดังนั้นวิธ๊การป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือ การควบคุม ป้องกันและกำจัดเห็บหมัด
- ตรวจสุขภาพสุนัขเป็นประจำ (ตรวจเลือด) ทุกๆ 3-6เดือน
- ไม่ควรให้ยาป้องกัน เนื่องจากเขื้อแต่ละตัวจะใช้ยาที่แตกต่างกัน จึงไม่ควรที่ใช้ยาเนื่องยามีผลข้างเคียงอื่นๆต่อตัวสัตว์ นอกจากการรักษาเมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้วเท่านั้น