ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ประกาศและข่าวสารจากทางเว็บ
dot
bulletประกาศจากทางเว็บ
bulletแจ้งการจัดส่งสินค้า
bulletรายละเอียดวันหมดอายุของสินค้า
bulletคำถามที่พบบ่อย
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot
สินค้าและผลิตภัณฑ์
dot
ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัด
ผลิตภัณฑ์ป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ
แชมพู โลชั่น ครีม ยาใส่แผล
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
อาหารประกอบการรักษาโรคสุนัข
อาหารประกอบการรักษาโรคแมว
_
dot
ภาวะผิดปกติที่พบได้ในแมว
dot
bulletภาวะโลหิตจาง : Anemia
bulletภาวะเบื่ออาหาร : Anorexia
bulletภาวะท้องมาน : Ascites
bulletอาการไอ : Coughing
bulletภาวะท้องเสีย : Diarrhea
bulletภาวะหายใจลำบาก : Dyspnea
bulletภาวะมีไข้ : Fever
bulletภาวะดีซ่าน : Icterus , Jaundice
bulletความอ้วน : Obesity
bulletภาวะถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติ/กินน้ำมากกว่าปกติ : PU/PD
bulletการชัก : Seizures
bulletอาเจียน : Vomiting
bulletน้ำหนักตัวลด : Weight Loss
dot
โรคและปัญหาที่พบได้บ่อยในสุนัขและแมว
dot
bulletFLUTD : โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว
bulletขี้เรื้อนแห้ง : Sarcoptic Mange
bulletไรขี้เรื้อนเปียก / ไรขี้เรื้อนรูขุมขน Demodex
bulletไรในหู : Ear Mite
bulletช่องหูอักเสบ : Otitis
bulletวิธีล้างทำความสะอาดช่องหูสุนัขและแมว
bulletAural Hematoma : ใบหูบวมเลือด
bulletเชื้อราในสุนัขและแมว
bulletต่อมข้างก้นอักเสบในสุนัขและแมว : Anal Sacculitis
bulletพยาธิเม็ดเลือดในแมว : Hemobartonellosis
bulletลิ่มเลือดอุดตันในแมว
bulletพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข
bulletพยาธิตัวตืดในสุนัขและแมว
bulletตรวจเลือดมาค่าไตสูงไม่ได้หมายความว่าไตวายเสมอไป
dot
บทความที่น่าสนใจ
dot
bulletการตรวจสอบเบื้องต้นว่ายาหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้มีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
bulletการคำนวนหาโดสยา
bulletการแบ่งตวงยา Revolution
bulletการแบ่งตวงยา Frontline
bulletการแบ่งตวงยา Advocate
bulletผลของยาคุมกำเนิด
bulletอันตรายจากยาลดไข้
bulletความเป็นพิษจากยา acetaminophen (ยาพาราเซตามอล) และการแก้ไขความเป็นพิษ
bulletการเลือกใช้ยาหยอดหูสำหรับแมวที่เป็นไรในหู
bulletตารางเปรียบเทียบอายุคนกับสุนัขและแมว
bulletจะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขและแมวที่เลี้ยงอ้วนหรือผอม
bulletคู่มือประชาสัมพันธ์โรคพิษสุนัขบ้า 1
bulletคู่มือประชาสัมพันธ์โรคพิษสุนัขบ้า 2
bulletคู่มือประชาสัมพันธ์โรคพิษสุนัขบ้า 3
bulletการใช้กรดไขมันในทางสัตวแพทย์




การตรวจสอบเบื้องต้นว่ายาหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้มีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน

หลายๆคนอาจจะเคยเห็นโปสเตอร์อันนี้กันมาบ้างนะครับ (ตามรูปข้างล่าง)

 

ปัญหาที่ตามมาคือเจ้าของสัตว์บางคนจะไม่ทราบว่าแล้วผลิตภัณฑ์ตัวไหน คือยาเถื่อน ตัวไหนไม่ได้รับการจดทะเบียน ยาแต่ล่ะตัวมีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน  ผลิตภัณฑ์ทุกๆตัวจะต้องมีสัญลักษณ์ อย. อยู่บนฉลากหรือไม่  แล้วจะตรวจเช็คได้อย่างไรว่ายาตัวนั้นๆแจ้งเลขทะเบียนจริงๆ ไม่ได้แอบอ้าง   เดี๋ยว Admin จะค่อยๆ อธิบายนะครับ

 

กลุ่มแรกน่าจะเป็นกลุ่มที่ใช้กันบ่อยที่สุด และเป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเรื่องอันตรยมากที่สุดครับ  คือกลุ่มยากำจัดเห็บหมัด

เห็บหมัดคือแมลงประเภทนึง ดังนั้นยากำจัดเห็บหมัดส่วนใหญ่จึงเป็นยาฆ่าแมลงประเภทนึงครับ

กลุ่มผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้  หากเป็นยาที่จดทะเบียนถูกต้อง จะมีสัญลักษณ์ อย. และเลขที่ วอส ที่กล่องหรือบรรจุภัณฑ์ครับ  (วอส. คือ วัตถุอันตราย. ที่ ใช้ทางสาธารณสุข   ในกรณีหมายถึงกลุ่มสารกำจัดแมลงนะครับ)
 

ยกตัวอย่างเช่น ยาหยอดหลังกำจัดเห็บหมัด Frontline Plus

ปลอกคอกำจัดเห็บหมัด Kiltix

น้ำยากำจัดเห็บหมัด Bayticol

 

แต่ก็มียากำจัดเห็บหมัดบางชนิด บางแบบ ที่ไม่ได้จัดเป็นกลุ่ม วัตถุอันตราย. ที่ ใช้ทางสาธารณสุข   จึงไม่มีสัญลักษณ์ อย. ที่กล่องหรือบรรจุภัณฑ์
เนื่องจากจัดเป็นประเภทตัวยา  จึงแจ้งเป็นเลขทะเบียนยาแทน

ยกตัวอย่างเช่น Revolution และ Advocate   ตัวอย่างรูปข้างล่างจะเป็นเลจทะเบียนของ Revolution

 

 

ส่วนยาทั้วไปที่ใช้ในการรักษาโรค  ก็จะดูที่เลขทะเบียนยาเป็นหลักนะครับ เช่นตัวอย่างตามรูป Tolfedine (ยาลดไข้) , Marbocyl (ยาปฏิชีวนะ)
เลขทะเบียนยาคือตัวเลขและตัวหนังสือหลังคำว่า "Reg. No."

 

หรือกลุุ่มยาใช้ภายนอก เช่นยาหยอดหู Dexoryl , Aurizon

 

หรือแม้แต่แชมพูอาบน้ำ หากใช้สาร ตัวยา หรือส่วนประกอบที่เป็นสารออกฤทะิ์ที่ต้องขึ้นทะเบียน  แชมพูตัวนั้นๆก็ต้องมีเลขทะเบียนยาครับ
ยกตัวอย่างแชมพู Malaseb ของ Pfizer

 

แต่ในการใช้ยาตามคลินิกหรือตามโรงพยาบาลสัตว์ บางครั้งก็มีการใช้ยานำเข้า หรือยาที่หิ้วเข้ามาใช้เอง  โดยที่ยาตัวนั้นยังไม่ได้มีการจดทะเบียนกับ อย. (เช่น ไม่มีบริษัทตัวแทนนำเข้าหรือจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ)
การจะตรวจเช็คเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้น อย่างน้อยยาตัวนั้นๆ  ก็ควรจะได้รับการจดทะเบียน หรือได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน หรือองค์กรที่น่าเชือถือ

ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ตามรูป  จะมีการลงเลขทะเบียนของ FDA (อย. ของสหรัฐอเมิกา)
*** อันนี้ Admin ยกตัวอย่างลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองของ FDA ให้ดูนะครับ
เพราะจริงๆ แล้ว  ผลิตภัณฑ์ทั้งสองตัวก็จดทะเบียนกับ อย. ไทย เช่นกันครับ   (แต่อย่างที่อธิบายไปข้างบนครับ  การใช้ยาบางตัวในคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์  จะมียาบางตัวครับ เป็นลักษณะที่หิ้วเข้ามาใช้ เพราะไม่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย)
 

 

 

 เมื่อทราบวิธีดูสัญลักษณ์ หรือ เลขทะเบียนยาแล้วต่อไปก็เป็นการตรวจเช็คว่า  ยาตัวนั้นๆ  จดทะเบียนจริงๆหรือไม่  เลขทะเบียนหมดอายุแล้วหรือยัง
โดยสามารถเช็คผ่านเว็บไซด์ของ อย. ได้ครับที่ http://wwwapp1.fda.moph.go.th/logistics/drgdrug/DSerch.asp

เมื่อเข้าไปที่หน้าเว็บตาม link ก็จะเป็นดังรูปข้างล่าง

เราสามารถใช้ชื่อยี่ห้อ ชื่อตัวยาสารออกฤทธิ์ เลขทะเบียนยา ชื่อตัวแทนจำหน่าย ผู้ผลิตในการค้นหาข้อมูลได้ครับ

ยกตัวอย่าง Admin จะเช็คเรื่องการจดทะเบียนของ Heartgard ก็ใช้ชื่อทางการค้าในการค้นหา

จะเห็นว่า สถานะ ของ Heartgard มีทั้งคงอยู่ และ  ยกเลิก

ที่คงอยู่ คือ Heartgard Plus ส่วนที่ยกเลิก คือตัว Heartgard แบบเม็ด (Tablet) ซึ่งปัจจุบันทางตัวแทนจำหน่ายยกเลิกการนำเข้ามาขายในประเทศไทย 
เหลือแค่ Heartgard Plus เพียงอย่างเดียว  จากที่เมื่อก่อนมีขายทั้งสองแบบ

 

 

ทีนี้ลองเอาชื่อยาเถื่อนยอดนิยมที่มีขายกันเยอะๆไปค้นดูครับ

 

 

ไม่ไ้ด้ขึ้นทะเบียน จริงๆด้วย

ทีนี้ลองเอาชื่อยา ivermectin ไปค้นหาดูบ้าง (ที่ Admin เคยอธิบายอยู่เสมอว่า ตัวยาแบบฉีดได้รับการจดทะเบียนจริง  แต่เป็นการจดทะเบียนเพื่อใช้ในหมูและวัว  ไม่ใช่การจดเพื่อใช้ในหมาและแมว)

คลิกเลือดสูตรที่เป็นยาฉีด (injection)

จากนั้นในข้อบ่งใช้ คลิกที่คำว่า ดูรายละเอียด

จะมีการเปิดเป็นไฟล์ word ฟรือพวกไฟล์เอกสารขึ้นมา เพื่อให้อ่านรายละเอียดยา   เป็นยาของหมูและวัวจริงๆด้วย !!! 

 

 

Admin อธิบายเป็นแนวทางคร่าวๆ แค่นี้นะครับ  คงพอได้แนวคิด และวิธีการ ในการตรวจสอบความถูกต้องของยาหรือผลิตภัณฑืแต่ล่ะชนิดนะครับ
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของสัตว์ไม่มากก็น้อยนะครับ ในการหลักเลี่ยงกลุ่มยาเถื่อนที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน

ปล. ขอเสริมอีกนิดนึงครับ  การที่ยาได้รับการจดทะเบียนนั้นหมายความว่า ยาตัวนั้นมีความปลอดภัยหากใช้ยาอย่างถูกต้องนะครับ
ไม่ได้หมายความว่าหากเอาไปใช้เองโดยไม่มีความรู้แล้วจะไม่มีอันตรายอะไร  เพราะหากให้ยาเกินขนาด ใช้ผิดวิธี ก็สามารถเกิดปัญหาหรืออันตรายขึ้นมาได้นะครับ
การใช้ยาต่างๆจึงควรผ่านการตรวจวินิจฉัยและได้รับการสั่งจ่ายจากคุณหมอผู้ตรวจมาแล้วนะครับ   มีข้อสงสัยเรื่องการใช้ยาให้สอบถามคุณหมอให้รู้เรื่องก่อนนะครับ








Copyright © 2010 All Rights Reserved.

CLICK2VET.COM จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
อีเมล : click2vet@gmail.com
Only receive order and shipment in Thailand.